เรียนรู้ : อุปกรณ์ PPE ที่ใช้ปฏิบัติงานบนที่สูงตามมาตรฐานมีอะไรบ้าง

by heightthaimanage
6K views

PPE ที่ใช้ทำงานบนที่สูงมีอะไรบ้าง.

การทำงานในที่สูงนอกจากสภาพแวดล้อมในการทำงานต้องปลอดภัยสภาพร่างกายของผู้ปฏิบัติงานต้องพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูงก็มีความสำคัญมากเช่นกันเพราะการทำงานบนที่สูงเป็นงานที่มีความเสี่ยงหากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความพร้อมอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ซึ่งอุบัติเหตุจากการทำงานบนที่สูงหากเกิดขึ้นแล้วมักจะส่งผลให้เสียชีวิตหรือพิการได้

พนักงานทุกคนควรได้รับการฝึกอบรมที่สูงโดยในวันนี้เราจะมาดูกันว่าอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้ในการทำงานบนที่สูงมีอะไรบ้างและมีข้อกำหนดในการใช้อย่างไร

อุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้ทำงานบนที่สูงมีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบนที่สูงมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดใช้เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน และอุปกรณ์แต่ละชนิดต้องมีมาตรฐาน ซึ่งอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้สำหรับงานที่สูงได้แก่

เข็มขัดนิรภัยชนิดคาดเอว (Safety Belt)

  1. เข็มขัดนิรภัยชนิดคาดเอว (Safety Belt) 

เป็นอุปกรณ์ป้องกันการตกชนิดคาดเอว อุปกรณ์ชนิดนี้มีความปลอดภัยน้อยกว่า เข็มขัดนิรภัยชนิดสวมเต็มตัว เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยชนิดนี้ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่แผ่นหลังและช่องท้องเมื่อตกจากที่สูง การตรวจสอบเข็มขัดนิรภัยชนิดคาดเอว

  • ตรวจสอบ D-ring ต้องไม่มีรอยขูด แตก
  • ตรวจสอบหัวเข็มขัด ต้องไม่บิดเบี้ยว
  • ตรวจสอบตะขอ ต้องไม่มีสนิม
  • ตรวจสอบเชือก ต้องไม่มีชิ้นส่วนขาดหาย
  • ตรวจสอบสายเชือก ต้องไม่ขาด ไม่มีรอยไหม้ ไม่สัมผัสกับสีหรือสารเคมี ไม่เสียรูป ไม่ม้วน
  • ตรวจสอบสายเข็มขัด ต้องไม่มีรอยพับ ไม่มีรอยขาด

การสวมใส่อย่างถูกต้อง

  • ใส่เข็มขัดนิรภัยบริเวณเอวพอดี ไม่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าเอวเกินไป
  • ล็อคหัวเข็มขัดและใส่ให้พอดีกับร่างกาย ไม่หลวมหรือแน่นเกินไป
  • เก็บเชือกและตะขอในถุงเมื่อไม่ใช้งาน

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • ไม่ควรใช้เชือกพาดกับขอบแหลมคม
  • ห้ามคล้องตะขอกับโครงสร้างหรือราวกันตกที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
  • ในกรณีพลัดตกจากที่สูง สามารถห้อยตัวรอความช่วยเหลือได้เพียง 90 วินาทีเท่านั้น

Full Body Harness

  1. เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full Body Harness)

เป็นอุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคล ที่เหมาะสมที่สุดหากงานนั้นมีความเสี่ยงจากการตกจากที่สูง เพราะในกรณีที่ตกจากที่สูง Full Body Harness จะให้ความปลอดภัยมากกว่า Safety Belt เพราะสามารถกระจายแรงรับในจุดที่สำคัญของร่างกายได้ ซึ่งก่อนการใช้งานและในขณะใช้งานต้องมีการตรวตสอบ โดยต้องตรวจสอบดังนี้

การตรวจสอบเข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว

  • ตรวจสภาพของ D-ring ต้องไม่มีรอยขีดข่วนหรือรอยแตก
  • ตรวจสอบหัวเข็มขัดต้องไม่บิดเบี้ยว
  • ตรวจสอบสายเข็มขัดต้องไม่มีรอยพับหรือฉีกขาด

มีข้อควรระวังในการใช้

  • สวมใส่ให้พอดีไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
  • หากพบความผิดปกติ ห้ามใช้งาน
  • ในขณะทำงานบนที่สูงต้องคล้องตะขอ 2 ตะขอตลอดเวลา
  • ขณะย้ายพื้นที่ปฏิบัติงาน ต้องคล้องตะขออย่างน้อย 1 ตะขอ
  • ในกรณีที่พลัดตกจากที่สูง ขณะที่ใช้เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว สามารถห้อยตัวรอความช่วยเหลือได้ประมาณ 15 นาที

หมวกนิรภัยทำงานบนที่สูง

  1. หมวกนิรภัย (Safety Helmet)

การเลือกใช้หมวกนิรภัย ต้องเลือกหมวกที่ได้รับมาตรฐานถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และเวลาใส่ต้องใส่สายรัดคางและปรับขนาดของหมวกให้พอดีกับศีรษะของผู้สวมใส่ด้วย 

สายเชือกนิรภัย (Safety Lanyard)

  1. สายเชือกนิรภัย (Safety Lanyard) 

ต้องเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ให้เหมาะสม ระหว่างจุดยึดกับอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งต้องมีความแข็งแรงพอหากเกิดการตกจากที่สูง ห้ามใช้อุปกรณ์ป้องกันที่ชำรุดหรือได้รับการดัดแปลงโดยเด็ดขาด 

เชือกนิรภัย หมายถึง เส้นเชือกที่ใช้รั้ง ผูกยึด เกี่ยวตัวคนขณะทำงานบนที่สูงที่ใช้กับเข็มขัดนิรภัยชนิดคาดเอว หรือเต็มตัว 

การตรวจสอบเชือกนิรภัย 

  • สภาพสายเชือกนิรภัย ต้องไม่ฉีกขาด ไม่หลุดลุ่ย ไม่มีรอยไหม้ ไม่พับงอ
  • สภาพปลายเชือกนิรภัย รอยเย็บต้องไม่ขาด
  • สภาพตะขอ ไม่แตกหรือสึกหรอ

ซึ่งเชือกนิรภัย มีชนิดเชือกนิรภัยแนวนอน และเชือกนิรภัยแนวดิ่ง มีข้อกำหนดการใช้งานดังนี้

การใช้เชือกนิรภัยแนวนอน

  • ห้ามมีรอยต่อของเชือกนิรภัย
  • เสาที่ผูกเชือกนิรภัยต้องแข็งแรงและรับน้ำหนักได้
  • ระยะห่างของจุดยึด น้อยกว่า 6 เมตร
  • เชือกนิรภัย จะต้องอยู่เหนือจุดทำงานอย่างน้อย 1 เมตร
  • มีระยะปลอดภัย อย่างน้อย 1 เมตร

การใช้เชือกนิรภัยแนวดิ่ง

  • ห้ามมีปมหรือรอยต่อ ยกเว้นปลายของเส้นเชือก
  • ยึดเกาะ เชือกนิรภัย 1 เส้นต่อจุดเท่านั้น
  • ใช้เชือกนิรภัย 1 เส้นต่อผู้ปฏิบัติงาน 1 คน
  • เชือกนิรภัย มีระยะปลอดภัยจากพื้น 1 เมตร

ตะขอ (Safety Hook)

  1. ตะขอ (Safety Hook)

การตรวจสอบตะขอ 

  • ไม่มีรอยขูด
  • ไม่บิดเบี้ยวโค้งงอ
  • ตัวล็อกไม่ฝืดหรือติดขัด
  • ไม่มีรอยแตกหัก
  • ชิ้นส่วนครบ
  • ไม่มีการสึกกร่อน

ppe บนที่สูง

ข้อห้ามสำหรับการคล้องตะขอ

  • ห้ามใช้ตะขอคล้องกับ D-ring ที่เดียวกัน
  • ห้ามแขวนคาราไบเนอร์ในแนวนอน
  • ห้ามคล้องบริเวณจุดต่อของตัวล็อค
  • ห้ามเกี่ยวตะขอแบบไม่เต็มล็อค
  • ห้ามคล้องคาราไบเนอร์เข้าด้วยกัน
  • ห้ามคล้องตะขอเข้าด้วยกัน
  • ห้ามเกี่ยวตะขอพันกับสายแลนยาร์ดในกรณีที่จุดคล้องเกี่ยวเป็นท่อ
  • ห้ามเกี่ยวตะขอผิดวิธี (ไม่เต็มล็อค)

Safety Net

  1. ตาข่ายนิรภัย (Safety Net)

ตาข่ายนิรภัยใช้สำหรับรองรับคนตกและวัสดุร่วงหล่น โดยการติดตั้งตาข่ายใต้จุดที่มีการทำงาน เช่น ใต้หลังคา และต้องติดตั้งโดยผู้ที่มีความรู้ ได้รับการอบรมการติดตั้งตาข่ายอย่างนิรภัยอย่างถูกต้อง นอกจากอุปกรณ์ความปลอดภัยที่กล่าวมายังมีอุกรณ์ที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกเช่นรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นถุงมือ  ซึ่งในการทำงานบนที่สูงใช้อุปกรณ์จำนวนมาก เนื่องจากงานที่สูงมีอันตรายและความเสี่ยงสูง จึงจำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง

สรุป

นอกจากการกำหนดให้มีการใช้อุปกรณ์ในการทำงานบนที่สูงแล้ว สิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน คือการควบคุมดูแลให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่และใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานตามมาตรการด้านความปลอดภัยที่กำหนดขึ้น  และจัดให้มีการอบรมที่สูงให้กับพนักงานทุกคนเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ปฏิบัติงานด้วย

You may also like

Copyright @2024 – All Right Reserved. Designed and Developed by HEIGHTTHAI TEAM

เพิ่มเพื่อน