รองเท้าหนังนิรภัย (leather safety footwear) หมายถึง รองเท้าหนังที่มีพื้นรองภายใน หรือวัสดุหุ้มภายในที่แยกระหว่างตัวรองเท้ากับพื้นรองเท้า มีบัวหัวสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดกับนิ้วเท้าของผู้สวมอาจมีแผ่นป้องกันการแทงทะลุด้วยก็ได้ ซึ่ง มอก.523 ครอบคลุมเฉพาะรองเท้านิรภัยที่ทำด้วยหนังแท้หรือหนังเทียมเท่านั้น
-
ประเภท แบบ ชนิด และสัญลักษณ์ รองเท้าหนังนิรภัยตามมาตรฐาน มอก.
คุณสมบัติของพื้นรองเท้าหนังนิรภัยรองเท้าหนังนิรภัย แบ่งตามคุณสมบัติของพื้นรองเท้าเป็น 4 ประเภท แต่ละประเภทใช้สัญลักษณ์ ดังนี้
- ประเภทธรรมดา (standard) สัญลักษณ์ S
- ประเภทเสริมแผ่นป้องกันการแทงทะลุ (penetration-resistant) สัญลักษณ์ P
- ประเภทต้านไฟฟ้าสถิต (antistatic) สัญลักษณ์ A
- ประเภทเสริมแผ่นป้องกันการแทงทะลุและต้านไฟฟ้าสถิต สัญลักษณ์ PA
แบบของรองเท้าหนังนิรภัย
รองเท้าหนังนิรภัย แต่ละประเภทมี 5 แบบ ดังนี้
- แบบหุ้มส้น (low shoe)
- แบบหุ้มข้อ (ankle boot)
- แบบครึ่งแข้ง (half-knee boot)
- แบบเต็มแข้ง (knee-height boot)
- แบบเต็มขา (thigh boot)
ชนิดของหนังรองเท้าหนังนิรภัย
- ชนิดหนังแท้
- ชนิดหนังเทียม
มาตรฐานบัวหัวสำหรับการทนแรงกระแทกของรองเท้าหนังนิรภัย เมื่อทดสอบการรับแรงกระแทกที่ 200 + 4 จูลต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และไม่เกิดรอยแตก ทั้งบัวหัวชนิดโลหะ และไม่เป็นโลหะ (บัวหัว คือบริเวณส่วนหัวของรองเท้าสำหรับป้องกันอุบัติเหตุ)
รองเท้าหนังนิรภัยตามคุณลักษณะของ มอก.
ลักษณะทั่วไป
- ตัดเย็บประณีต เรียบร้อย มีรูปร่างเหมาะสม ฝีเข็มสม่ำเสมอ
- ดอกยางพื้นรองเท้าสม่ำเสมอไม่บิดเบี้ยว แหว่ง สึก
- บัวหัวต้องติดแน่นกับรองเท้า ส่วนที่เป็นโลหะต้องไม่เป็นสนิม
- ถ้ามีเชือกผูกรองเท้าปลายเชือกต้องไม่หลุดลุ่ยและความยาวเชือกต้องเหมาะสมกับรองเท้า
- ถ้ามีแผ่นป้องกันการแทงทะลุต้องอยู่ภายในพื้นรองเท้า ไม่สามารถดึงออกได้โดยปราศจากความเสียหายของรองเท้า และของแผ่นป้องกันการแทงทะลุต้องไม่เกินออกมาจากขอบพื้นรองเท้าหรือบัวหัว และต้องไม่สัมผัสกับบัวหัวความต้านไฟฟ้าสถิต เฉพาะประเภทต้านไฟฟ้าสถิต และประเภทเสริมแผ่นป้องกันการแทงทะลุและต้านไฟฟ้าสถิต
- ความต้านไฟฟ้าเฉลี่ยต้องมีค่าตั้งแต่ 100 กิโลโอห์ม ถึง 1,000,000 กิโลโอห์มซิป (ถ้ามี)
- ต้องเป็นไปตาม มอก.199 รองเท้าหนังนิรภัยทุกข้างในแต่ละคู่ อย่างน้อยจะต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดให้เห็นได้ง่ายชัดเจน ประกอบด้วย ขนาดรองเท้า ควบด้วยตัวอักษรย่อของระบบขนาดรองเท้า สัญลักษณ์ ชนิด ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
-
มาตรฐานรองเท้านิรภัยอื่น
ปัจจุบันมีการใช้งานรองเท้านิรภัยอย่างแพร่หลาย และรองเท้านิรภัยเองก็มีมาตรฐานต่างๆ มากมายให้เลือกใช้งานไม่เพียงแค่ มอก. เท่านั้น ยังมีมาตรฐานต่างประเทศอีก เช่น
- EN ISO 20345:2011 (มาตรฐานสหภาพยุโรป) เป็นมาตรฐานของสหภาพยุโรป โดยกำหนดคุณสมบัติและการทดสอบอย่างเข้มงวด ทำให้การแบ่งกลุ่มรองเท้านิรภัยมีความชัดเจนขึ้น โดยมีข้อกำหนดพื้นฐานดังนี้
- รองเท้าหัวเหล็กต้านแรงกระแทก 200J
- วัสดุเสริมพื้นรองเท้า แผ่นรองพื้นระหว่างชั้นนอกและชั้นในสามารถทนแรงทะลุได้ 1,100N
- พื้นรองเท้าชั้นนอกมีคุณสมบัติทนน้ำมันและสารเคมี
- พื้นรองเท้าชั้นนอกมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ 160°C , 360°C
- พื้นรองเท้าชั้นนอกมีคุณสมบัติกันลื่น
- กันไฟฟ้าสถิต
- หนังรองเท้าระบายอากาศได้
รองเท้านิรภัยตามมาตรฐาน EN ISO 20345:2011 แบ่งประเภทรองเท้าตามตารางต่อไปนี้
ประเภทรองเท้า | สัญลักษณ์ | คุณสมบัติการป้องกัน |
Class I ทำจากหนังและวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ยางธรรมชาติหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ |
SB | ความปลอดภัยพื้นฐาน หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J |
S1 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J ป้องกันไฟฟ้าสถิต และส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก | |
S1P | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J มีชั้นตรงกลางของพื้นรองเท้า ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันไฟฟ้าสถิต และส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก | |
S2 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J ป้องกันไฟฟ้าสถิต ส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก และกันน้ำ | |
S3 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J มีชั้นตรงกลางของพื้นรองเท้า ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันไฟฟ้าสถิต ส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก กันน้ำ และพื้นรองเท้าด้านนอกแบบมีปุ่ม | |
Class II ทำจากยางหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ |
SB | ความปลอดภัยพื้นฐาน หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J และกันน้ำ |
S4 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J ป้องกันไฟฟ้าสถิต และพื้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก | |
S5 | หัวเหล็กป้องกันแรงกระแทก 200J มีชั้นตรงกลางของพื้นรองเท้า ป้องกันการเจาะทะลุ ป้องกันไฟฟ้าสถิต ส้นรองเท้าดูดซับแรงกระแทก กันน้ำ และพื้นรองเท้าด้านนอกแบบมีปุ่ม |
สัญลักษณ์และคุณสมบัติพิเศษนอกเหนือจากมาตรฐานข้างต้นเพิ่มเติม ดังนี้
P พื้นรองเท้าเสริมเหล็กป้องกันการเจาะทะลุ 1,100 นิวตัน
C รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตแบบตัวนำ
A รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิต
HI รองเท้ามีฉนวนป้องกันความร้อน
CI รองเท้ามีฉนวนป้องกันความเย็น
E พื้นรองเท้าสามารถช่วยดูดซับแรงกระแทกส้นเท้าได้ 20 จูล
WRU ส่วนบนรองเท้าป้องกันน้ำซึมเข้ารองเท้า
HRO พื้นรองเท้าทนความร้อน 300 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที
ORO พื้นรองเท้าป้องกันน้ำมัน
- JIS (Japanese Industrial Standards) เป็นมาตรฐานความปลอดภัยของญี่ปุ่น แบ่งเป็น JIS T8101 สำหรับรองเท้านิรภัย และ JIS T8103 สำหรับรองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตของญี่ปุ่น ซึ่งรองเท้านิรภัยตามมาตรฐาน JIS T8101 จะแบ่งเป็นประเภทของการใช้งานคือ
- งานหนักพิเศษ (U) ต้านแรกกระแทกได้ 200J
- งานหนัก (H) ต้านแรงกระแทกได้ 100J
- งานทั่วไป (S) ต้านแรงกระแทกได้ 70J
- งานเบา (L) ต้านแรงกระแทกได้ 30J
- JSAA (Japan Safety Appliances Association) เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรเอกชนของประเทศญี่ปุ่น เพื่อสอบสวนและส่งเสริมอุปกรณ์ความปลอดภัย โดยได้รับความไว้วางใจจาก ISO และ JIS สำหรับมาตรฐาน JSAA จะเป็นมาตรฐานสำหรับรองเท้านิรภัยประเภทผ้าใบและรองเท้าบูทนิรภัย รองรับการใช้งาน 2 แบบ คืองานทั่วไป (S) ต้านแรงกระแทกได้ 70J และงานเบา (L) ต้านแรงกระแทกได้เพียง 30J เท่านั้น
-
การบำรุงรักษารองเท้านิรภัย
เพื่อเป็นการรักษาประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานรองเท้านิรภัย ผู้ใช้งานต้องบำรุงรักษาดังต่อไปนี้
- ทำความสะอาดรองเท้าเป็นประจำด้วยผ้าหรือแปรงชุบน้ำหมาดๆ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ
- เก็บรองเท้าให้แห้งและพ้นจากสภาพที่เปียกหรือชื้น
- ตรวจสอบรองเท้าว่ามีร่องรอยการสึกหรอหรือเสียหายหรือไม่ และเปลี่ยนใหม่หากจำเป็น
- เก็บรองเท้าไว้ในที่แห้งและเย็นเพื่อป้องกันความเสียหายจากความร้อนหรือความชื้น
- ไม่เหยียบส้นรองเท้าขณะสวมใส่
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตสำหรับข้อกำหนดการดูแลหรือบำรุงรักษาโดยเฉพาะ
ช่างเทคนิคที่ โรยตัวทำความสะอาด หากทำงานในคลังน้ำมันหรืองานนอกชายฝั่งควรเลือกรองเท้านิรภัยที่เหมาะสมกับตนเองและลักษณะงานเพื่อความปลอดภัยและสะดวกขณะทำงาน
สรุป
การเลือกใช้ รองเท้านิรภัย ในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบและหาซื้อได้ง่ายทำให้มีการนำรองเท้านิรภัยที่ไม่ได้มาตรฐานมาขายจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องตรวจสอบมาตรฐานของรองเท้านิรภัยก่อนเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและตรงตามลักษระของการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น